TY - BOOK AU - ศิริ อัคคะอัคร. TI - รายงานการศึกษาพฤติกรรมของไฟในป่าเต็งรัง =: Fire Behaviors in Dry Dipterocarp Forest U1 - Res 363.37 PY - 2548/// CY - กรุงเทพฯ PB - ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช KW - ไฟป่า KW - การป้องกันและควบคุม KW - ป่าเต็งรัง N1 - การศึกษาพฤติกรรมของไฟในป่าเต็งรัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของไฟในด้านต่างๆ โดยการทดลองเผาในแปลงทดลองรัศมี 30 เมตร ที่ระดับความลาดชัน 10,20,30 และ 40% เก็บข้อมูลเดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2547 ถึง พฤษภาคม 2548 ผลการศึกษาพบว่า อัตราการลุกลามของหังไฟเฉลี่ย 0.95 เมตร/นาที ตามลำดับ ความสูงของเปลวไฟด้านหัวไฟเฉลีย 0.48 เมตร โดยมีความสูงของเปลวไฟที่แต่ละระดับความลาดชัน เท่ากับ 0.39,0.45,0.41 และ 0.66 เมตร ตามลำดับ ความรุนแรงของไฟเฉลี่ยเท่ากับ 109.04 กิโลวัตต์/เมตร โดยมีความรุนแรงของไฟที่แต่ละระดับความลาดชัน เท่ากับ 0.65 ล 96.94 ,116.22 และ 154.12 กิโลวัตต์/เมตร ตามลำดับ ความยาวเปลวไฟเฉลี่ยเท่ากับ 0.65 โดยมีความยาวเปลวไฟที่แต่ละระดับความลาดชัน เท่ากับ 0.54,0.61,0.69 และ0.77 เมตร ตามลำดับ รูปร่างการลุกลามของไฟเป็นรูปวงรี มีอัตราส่วนระหว่างหัวไฟ : หางไฟ เฉลี่ยเท่ากับ 2.22 เท่า โดยมีอัตราส่วนที่แต่ละระดับความลาดชัน เท่ากับ 1.85,1.94,2.03 และ3.06; ตามลำดับ อัตราส่วนระหว่างหัวไฟ : หางไฟ เฉลี่ยเท่ากับ 3.00 เท่า โดยอัตราส่วนที่แต่ละระดับความลาดชัน เท่ากับ 2.07, 2.40, 3.09 และ 4.45 เท่า ตามลำดับ และอัตราส่วนระหว่างปีกไฟ : หางไฟ เฉลี่ยเท่ากับ 1.35 เท่า โดยมีอัตราส่วนที่แต่ละระดับลาดชัน เท่ากับ 1.12, 1.26, 1.53 และ 1.49 ตามลำดับ พื้นที่ถูกไฟไหม้เฉลี่ยเท่ากบ 3,680.38 ตารางเมตร/ชั่วโมง หรือ 2.30 ไร่/ชั่วโมง โดยมีอัตราการถูกไฟไหม้ที่แต่ละระดับความลาดชัน เท่ากับ 1,652.96, 3,028.16, 4,618.33 และ 5,422.05 ตารางเมตร /ชั่วโมง หรือ 1.03,1.89,2.89 และ 3.39 ไร่ / ชั่วโมง ตามลำดับ ความยาวแนวไฟมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยเท่ากับ 120.93 เมตร/ชั่วโมง โดยมีอัตราการขยายตัวที่แต่ละระดับความลาดชัน เท่ากับ 81.57, 107.21, 129.62 และ 165.33 เมตร / ชั่วโมง ตามลำดับ; คำหลัก ; ป่าเต็งรัง อัตราการลุกลาม ความสูงของเปลวไฟ ความรุนแรงของไฟ ความยาวเปลวไฟ รูปแบบการลุกลาม พื้นที่ถูกไฟไหม้ และความยาวแนวไฟ ER -